พื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน
พื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน (อันดามัน)
2023-05-23 09:38:38
ประเภทของแหล่ง
ธรรมชาติ
กลุ่มของแหล่ง
แหล่งมรดกที่อยู่ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น ของศูนย์มรดกโลก
รายละเอียด
- พื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน (พื้นที่นำเสนอ) ตั้งอยู่ในจังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต ซึ่งประกอบด้วย 3 นิเวศภูมิภาค คือ (1) ป่าชายเลนและกลุ่มเกาะชายฝั่ง (จังหวัดระนอง) (2) หมู่เกาะทะเลลึก (จังหวัดพังงา) และ (3) ชายหาดและป่าสันทรายชายฝั่ง (จังหวัดพังงา และภูเก็ต) โดยครอบคลุมพื้นที่ 6 อุทยานแห่งชาติ (ประกอบด้วย อุทยานแห่งชาติ
หมู่เกาะระนอง แหลมสน หมู่เกาะสุรินทร์ หมู่เกาะสิมิลัน เขาลำปี - ท้ายเหมือง และสิรินาถ) ป่าชายเลนจังหวัดระนอง และพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง - ขนาดพื้นที่รวม 290,800 เฮกตาร์ (1,817,500 ไร่) แบ่งเป็น พื้นที่นำเสนอ 115,955 เฮกตาร์ (724,718.75 ไร่) และพื้นที่กันชน 174,845 เฮกตาร์ (1,092,781.25 ไร่)
- เกณฑ์สำหรับนำเสนอแหล่งมรดกทางธรรมชาติ พื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน เข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ของศูนย์มรดกโลก จำนวน 3 ข้อ ดังนี้
- เกณฑ์ข้อที่ 7 : เป็นแหล่งที่เกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีความโดดเด่นเห็นได้ชัด หรือเป็นพื้นที่ที่มีความงามตามธรรมชาติหาพื้นที่อื่นเปรียบเทียบไม่ได้
- เกณฑ์ข้อที่ 9 : เป็นตัวอย่างที่มีความโดดเด่นสะท้อนถึงกระบวนการนิเวศวิทยาและชีววิทยา ซึ่งก่อให้เกิดและมีพัฒนาการของระบบนิเวศทางบก หรือระบบนิเวศน้ำจืด หรือระบบนิเวศชายฝั่งและทางทะเล และสังคมสัตว์และพืช
- เกณฑ์ข้อที่ 10 : เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยที่มีความสำคัญสูงสุดสำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในถิ่นกำเนิด ซึ่งรวมไปถึงถิ่นที่อาศัยของชนิดพันธุ์พืช และ/หรือ ชนิดพันธุ์สัตว์
พิกัดที่ตั้ง
นิเวศภูมิภาค |
จังหวัด |
พื้นที่แหล่งอนุรักษ์ |
พิกัดกลาง |
พื้นที่นำเสนอ (ha) |
พื้นที่นำเสนอ (ha) |
พื้นที่กันชน (ha) |
พื้นที่รวม (ha) |
|
ป่าชายเลนและกลุ่มเกาะชายฝั่ง |
ระนอง |
อุทยานแห่งชาติ |
อุทยานแห่งชาติ |
09°46'01"N |
27,200 |
27,200 |
79,545 |
152,475 |
98°31'24"E |
||||||||
อุทยานแห่งชาติ |
ชายฝั่ง |
09°28'48"N |
29,700 |
31,500 |
||||
98°24'52"E |
||||||||
เกาะค้างคาว |
09°34'08"N |
1,000 |
||||||
98°22'55"E |
||||||||
เกาะไข่ใหญ่ |
09°20'07"N |
800 |
||||||
98°19'31"E |
||||||||
พื้นที่สงวนชีวมณฑล |
09°54'08"N |
11,630 |
14,230 |
|||||
98°35'15"E |
||||||||
ป่าชายเลนระนอง |
09°32'15"N |
2,600 |
||||||
98°31'12"E |
||||||||
หมู่เกาะ ทะเลลึก |
พังงา |
อุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะสุรินทร์ |
หมู่เกาะสุรินทร์ |
09°25'23"N |
13,525 |
14,125 |
53,800 |
81,925 |
97°51'56"E |
||||||||
ริเชริว |
09°21'35"N |
600 |
||||||
97°59'43"E |
||||||||
อุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะสิมิลัน |
หมู่เกาะสิมิลัน |
08°34'37"N |
12,100 |
14,000 |
||||
97°38'15"E |
||||||||
เกาะตาชัย |
09°04'13"N |
1,250 |
||||||
97°48'50"E |
||||||||
เกาะบอน |
08°49'31"N |
650 |
||||||
97°48'14"E |
||||||||
ชายหาดและ |
พังงา - ภูเก็ต |
อุทยานแห่งชาติ |
หาดท้ายเหมือง |
08°28'46"N |
1,200 |
7,200 |
41,500 |
56,400 |
98°13'51"E |
||||||||
เชาลำปี |
08°27'39"N |
6,000 |
||||||
98°18'14"E |
||||||||
อุทยานแห่งชาติ |
อุทยานแห่งชาติ |
08°06'49"N |
7,700 |
7,700 |
||||
98°16'41"E |
||||||||
รวม |
115,955 |
115,955 |
174,845 |
290,800 |
ลักษณะทางกายภาพ
พื้นที่นำเสนอในพื้นที่ชายฝั่งทะเล
อันดามัน ตอนบนครอบคลุมพื้นที่ ๖ อุทยานแห่งชาติ (ประกอบด้วย อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง แหลมสน หมู่เกาะสุรินทร์ หมู่เกาะสิมิลัน เขาลำปี - ท้ายเหมือง และสิรินาถ)
ป่าชายเลนจังหวัดระนอง และพื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง มีคุณลักษณะสรุปได้ ดังนี้
(1) ป่าชายเลนและกลุ่มเกาะชายฝั่ง ประกอบด้วย อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง อุทยานแห่งชาติแหลมสน และป่าชายเลนจังหวัดระนอง เป็นพื้นที่จุดเปลี่ยนสำคัญของสังคมนก ระหว่างกลุ่มนกสายพันธุ์อินโดจีนและสายพันธุ์ซุนอาดิก มีป่าชายเลนผืนใหญ่ที่ยังมีความอุดมสมบูรณ์โดยน่าจะเป็นป่าชายเลนดั้งเดิมที่ไม่ถูกรบกวนผืนใหญ่ที่สุดที่ยังเหลือในมหาสมุทรอินเดียตะวันออก และต้นไม้ในป่าคาดว่าน่าจะมีอายุมากที่สุดในป่าชายเลนประเทศไทย ป่ามีความหลากหลายตามธรรมชาติ ภายในพื้นที่นำเสนอมีชุมชนและมีการใช้ประโยชน์ภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน และมีการกำหนดเขตการจัดการพื้นที่ที่เหมาะสมภายใต้กฎหมาย ซึ่งสะท้อนการอยู่ร่วมกันระหว่างชุมชนกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
(2) หมู่เกาะทะเลลึก ประกอบด้วย อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์และอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน เป็นหมู่เกาะนอกชายฝั่งในเขตตอนเหนือสุดในทะเลอันดามัน เป็นแนวต่อเนื่องกับส่วนตอนใต้ของเกาะมะริด ซึ่งเป็นแนวของกลุ่มเกาะเขาหินแกรนิตที่ต่อเนื่องมาจากเทือกเขาสูง สิ่งมีชีวิตในทะเลได้รับอิทธิพลจาก 2 มหาสมุทร ได้แก่ 1) ฝั่งทะเลจีนใต้ มหาสมุทรแปซิฟิก และ 2) อ่าวเบงกอล และทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย มีกระแสน้ำประจำที่ทำให้เกิดการผสมผสานกันอย่างสลับซับซ้อนของสิ่งมีชีวิต และการผสมผสานตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรเขตร้อน ที่ไม่พบในที่อื่นใดในโลก มีปะการังที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ และมีความหลากหลายของชนิดปลาโดยพบปลามากกว่า 700 ชนิด สัตว์ในกลุ่มกุ้งปูหรือครัสเตเชียน อย่างน้อย 140 ชนิด และปะการังแข็ง 160 ชนิด และยังพบสัตว์ทะเลขนาดใหญ่ เช่น ฉลามวาฬ กระเบนราหู วาฬ และโลมา ได้เป็นประจำ ในส่วนของสังคมพืชบนเกาะ เป็นสังคมป่าดิบเขตร้อนไม่ผลัดใบ และสังคมพืชชายหาด เป็นแหล่งอาศัย และหากินของนกมากกว่า 90 ชนิด และพบค้างคาว 16 ชนิด ซึ่งมีหลายชนิดเป็นสัตว์หายาก
(3) ชายหาดและป่าสันทรายชายฝั่ง ครอบคลุมพื้นที่ด้านตะวันตกของจังหวัดพังงา ต่อเนื่องถึงส่วนเหนือของเกาะภูเก็ต ประกอบด้วย อุทยานแห่งชาติเขาลำปี - ท้ายเหมือง และอุทยานแห่งชาติรินาถ ลักษณะธรณีสัณฐานส่วนใหญ่เป็นสันทรายและเนินทรายชายฝั่ง มีแนวปะการังริมฝั่ง ห่างจากชายฝั่งประมาณ 500 เมตร ทอดตัวยาวขนานกับชายฝั่งถึงเกาะภูเก็ตทางใต้ เปรียบเสมือนปะการังแบบแบริเออร์ที่มีบทบาทในการเป็นแนวกำบังคลื่นลมจากมหาสมุทรอินเดีย ทำให้เกิดสันทรายชายฝั่งที่มีลักษณะเฉพาะพิเศษ และบริเวณริมชายฝั่งยังมีแนวหญ้าทะเลเกิดขึ้น บริเวณหาดท้ายเหมือง เป็นตัวอย่างของชายหาดและป่าสันทรายชายฝั่งยุคโฮโลซีนแหล่งสุดท้ายที่ยังมีความสมบูรณ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีเอกลักษณ์ไม่เหมือนที่ใด ลักษณะภูมิประเทศเป็นสันทรายกว้างและหาดยาวต่อเนื่องที่มีสังคมพืชชายฝั่ง และป่าเสม็ดระเบียงในพื้นที่ด้านติดทะเลสลับกับสังคมไม้พุ่มหาดทราย มีสังคมพืชลักษณะพิเศษทั้งที่เป็นป่าพรุชายฝั่งและป่าทุ่งน้ำซับชายฝั่ง และพบพืชหายาก นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งวางไข่ที่สำคัญของเต่าทะเล สัตว์หายากที่ใกล้สูญพันธุ์ และของเต่ามะเฟืองที่เหลืออยู่เพียงแห่งเดียวบนชายฝั่งแผ่นดินใหญ่ทางตะวันออกของมหาสมุทรอินเดีย และอาจเป็นชายหาดที่ใช้เป็นแหล่งวางไข่ประจำแห่งสุดท้ายบนแผ่นดินใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
หมายเหตุ
สามารถดาวน์โหลดชุดข้อมูลแหล่งที่บรรจุอยู่ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ของศูนย์มรดกโลก
ได้ที่ เว็บไซต์ (https://www.onep.go.th/tentative-list/) หรือ กดที่นี่เพื่อดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูล
วันที่ขึ้นทะเบียน
2021 / 2564
คุณค่าความเป็นสากล
7 - เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ มีความโดดเด่นอย่างเห็นได้ชัด หรือเป็นพื้นที่ที่มีความงดงามตามธรรมชาติหาพื้นที่อื่นเปรียบมิได้
9 - เป็นตัวอย่างที่มีความโดดเด่นสะท้อนถึงกระบวนการนิเวศวิทยาและชีววิทยา ซึ่งก่อให้เกิดและมีพัฒนาการของระบบนิเวศทางบก หรือระบบนิเวศน้ำจืด หรือระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งสังคมสัตว์และพืช
10 - เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยที่มีความสำคัญสูงสุดสำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในถิ่นกำเนิด รวมไปถึงถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดพันธุ์พืช และ/หรือชนิดพันธุ์สัตว์ ที่มีความโดดเด่นเชิงวิทยาศาสตร์ หรือเชิงอนุรักษ์ระดับโลก
ข้อมูลที่อยู่
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง หงาว อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง 85000
อุทยานแห่งชาติแหลมสน ม่วงกลวง อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง 85120
ป่าชายเลนจังหวัดระนอง หงาว อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง 85000
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ คุระ อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา 82150
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน ลำแก่น อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา 82210
อุทยานแห่งชาติเขาลำปี - หาดท้ายเหมือง ท้ายเหมือง อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงา 82120
อุทยานแห่งชาติสิรินาถ สาคู อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต 83140
พื้นที่(ไร่) : 1,817,500 ไร่ (290,800 เฮกตาร์)
ความสูงจากระดับน้ำทะเล (เมตร) :
แหล่งมรดกที่อยู่ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น ของศูนย์มรดกโลก
ธรรมชาติ
การสำรวจพื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทางทะเลในพื้นที่จังหวัดระนอง
20/04/2022 - 23/04/2022
กธศ. โดยกลุ่มงานประสานการบริหารจัดการมรดกโลก ได้สำรวจและรวบรวมข้อมูลสภาพพื้นที่และข้อมูลที่เกี่ยวข้องในารนำเสนอพื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดำมันเป็นมรดกโลก ในบริเวณพื้นที่จังหวัดระนอง ระหว่างวันที่ 20 - 23 เมษายน 2565
พื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน ได้รับการบรรจุในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ของศูนย์มรดกโลก
18/12/2021 - 18/12/2021
เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564
ครม. มีมติเห็นชอบ ให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยประสานงานกลางอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก นำเสนอแหล่งมรดกทางธรรมชาติ พื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน เข้าสู่บัญชีรายชื่อเบื้องต้นของศูนย์มรดกโลก
ต่อมาวันที่ 18 ธันวาคม 2564 พื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามัน ได้รับการบรรจุอยู่ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ของศูนย์มรดกโลก
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
รายละเอียดหัวหน้าหน่วยงาน : -
เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ : -
ชื่อผู้ติดต่อ : -
หมายเลขติดต่อ : 0 2561 0777, 0 2579 6666
อีเมลสำหรับติดต่อ : webmaster@dnp.mail.go.th
หน้าที่/ความรับผิดชอบ :
-
เว็บไซต์หน่วยงาน : http://portal.dnp.go.th
ข้อมูลที่อยู่
เลขที่ 61 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10900