ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก
จัดทำเอกสารนำเสนอเพื่อขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก
หน่วยงานเจ้าของเรื่อง ดำเนินการจัดทำเอกสารนำเสนอเพื่อขอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก (Nomination Dossier)
หมายเหตุ : แหล่งที่จะเสนอขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2571 จะต้องผ่านการประเมินเบื้องต้น (PA) จากองค์กรที่ปรึกษา
คณะอนุกรรมการพิจารณาเอกสารนำเสนอฯ
คณะอนุกรรมการมรดกโลกทางธรรมชาติ/ทางวัฒนธรรม พิจารณาเอกสารนำเสนอฯ
ในกรณี “ไม่เห็นชอบ” จะส่งเอกสารกลับคืนไปยังหน่วยงานเจ้าของเรื่อง เพื่อทำการปรับปรุงและนำเสนอใหม่ในขั้นตอนที่ 1
คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก (กอม.) พิจารณาเอกสารนำเสนอฯ
ในกรณี “ไม่เห็นชอบ” จะส่งเอกสารกลับคืนไปยังหน่วยงานเจ้าของเรื่อง เพื่อทำการปรับปรุงและนำเสนอใหม่ในขั้นตอนที่ 1
คณะรัฐมนตรีพิจารณาเอกสารนำเสนอฯ
ในกรณี “ไม่เห็นชอบ” จะส่งเอกสารกลับคืนไปยังหน่วยงานเจ้าของเรื่อง เพื่อทำการปรับปรุงและนำเสนอใหม่ในขั้นตอนที่ 1
รัฐภาคีดำเนินการจัดส่งเอกสารนำเสนอฯ ไปยังศูนย์มรดกโลก
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ในฐานะหน่วยงานประสานงานกลางอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ดำเนินการจัดส่งเอกสารนำเสนอฯ ไปยังศูนย์มรดกโลก (ภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ปีที่ 1)
ฝ่ายเลขานุการของศูนย์มรดกโลก ตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสารนำเสนอฯ
หากเอกสารฯ ครบถ้วนจะถูกส่งไปยังองค์กรที่ปรึกษา (ภายในวันที่ 1 มีนาคม ปีที่ 1)
องค์กรที่ปรึกษาตรวจสอบเอกสารนำเสนอฯ และประเมินแหล่ง
องค์กรที่ปรึกษาทำการประเมินเอกสารฯ (ภายในวันที่ 1 พฤษภาคม ปีที่ 2)
องค์กรที่ปรึกษาส่งผลการประเมินและข้อเสนอแนะให้ศูนย์มรดกโลก เพื่อจัดส่งให้คณะกรรมการมรดกโลก และรัฐภาคี
(ก่อนการประชุมสมัยสามัญ 6 สัปดาห์)
รัฐภาคีสามารถมีหนังสือถึงประธานกรรมการมรดกโลก และสำเนาถึงองค์กรที่ปรึกษา เพื่อขอปรับแก้ไขข้อเท็จจริงที่ผิดพลาดโดยการประเมินขององค์กรที่ปรึกษา
(อย่างน้อย 14 วัน ก่อนการประชุมสมัยสามัญ)
คณะกรรมการมรดกโลกพิจารณาเอกสารนำเสนอฯ ในการประชุมสมัยสามัญ
(ระหว่างเดือน มิถุนายน - กรกฎาคม ของทุกปี) ผลการพิจารณา มีดังนี้
ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลก (Inscribed)
ให้ส่งกลับเอกสารนำเสนอฯ (Refer)
ให้เลื่อนการพิจารณา (Defer)
ไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนฯ (Not Inscribe)