การประเมินขั้นต้น (Preliminary Assessment)
การประเมินขั้นต้น (Preliminary Assessment, PA) เป็นการพิจารณาความเป็นไปได้ในขั้นต้นของกระบวนการนำเสนอเป็นแหล่งมรดกโลก โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 และจะเปิดให้รัฐภาคีสมาชิกสามารถยื่นขอรับการประเมินขั้นต้น (PA) แบบสมัครใจ จนถึง วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2566จากนั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2571 เป็นต้นไป การนำเสนอแหล่งเพื่อขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจะต้องมีเอกสาร การประเมินขั้นต้นประกอบการพิจารณาร่วมกับเอกสารนำเสนอ (Nomination dossier) ที่เสนอต่อศูนย์มรดกโลก
จัดทำเอกสารเพื่อขอรับการประเมินขั้นต้น (Preliminary Assessment, PA)
หน่วยงานเจ้าของเรื่อง จัดทำเอกสารเพื่อขอรับการประเมินเบื้องต้น (PA)
ทั้งนี้ แหล่งที่ขอรับการประเมินฯ จะต้องอยู่ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ของศูนย์มรดกโลก อย่างน้อย 1 ปี
คณะอนุกรรมการ พิจารณาเอกสารฯ
คณะอนุกรรมการมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ พิจารณาเอกสารฯ
ในกรณี “ไม่เห็นชอบ” จะส่งเอกสารกลับคืนไปยังหน่วยงานเจ้าของเรื่อง เพื่อทำการปรับปรุงและนำเสนอใหม่ในขั้นตอนที่ 1
คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก (กอม.) พิจารณาเอกสารฯ
ในกรณี “ไม่เห็นชอบ” จะส่งเอกสารกลับคืนไปยังหน่วยงานเจ้าของเรื่อง เพื่อทำการปรับปรุงและนำเสนอใหม่ในขั้นตอนที่ 1
คณะรัฐมนตรี พิจารณาเอกสารฯ
ในกรณี “ไม่เห็นชอบ” จะส่งเอกสารกลับคืนไปยังหน่วยงานเจ้าของเรื่อง เพื่อทำการปรับปรุงและนำเสนอใหม่ในขั้นตอนที่ 1
รัฐภาคีดำเนินการจัดส่งเอกสารนำเสนอฯ ไปยังศูนย์มรดกโลก
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ในฐานะหน่วยงานประสานงานกลางอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ดำเนินการจัดส่งเอกสารฯ ไปยังศูนย์มรดกโลก (ภายในวันที่ 15 เมษายน ปีที่ 1)
ฝ่ายเลขานุการของศูนย์มรดกโลก ตรวจสอบความครบถ้วนของเอกสารนำเสนอฯ
หากเอกสารฯ ครบถ้วนจะถูกส่งไปยังองค์กรที่ปรึกษา (ภายในวันที่ 15 ตุลาคม ปีที่ 1)
Advisory Body review the documents
องค์กรที่ปรึกษาทำการประเมินเอกสารฯ (ระหว่างตุลาคม ปีที่ 1 - กันยายน ปีที่ 2)
องค์กรที่ปรึกษาส่งผลการประเมินขั้นต้น ไปยังฝ่ายเลขานุการของศูนย์มรดกโลก และฝ่ายเลขาฯจะแจ้งผลไปยังรัฐภาคี ต่อไป
ฝ่ายเลขานุการแจ้งผลกาประเมินขั้นต้น ไปยังรัฐภาคี (ภายในตุลาคม ปีที่ 2)