อนุสรณ์สถานแหล่งต่างๆ และภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเชียงใหม่ นครหลวงล้านนา
อนุสรณ์สถานแหล่งต่างๆ และภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเชียงใหม่ นครหลวงล้านนา (เชียงใหม่)
2023-05-23 09:39:31
ประเภทของแหล่ง
วัฒนธรรม
กลุ่มของแหล่ง
แหล่งมรดกที่อยู่ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น ของศูนย์มรดกโลก
รายละเอียด
เชียงใหม่ในอดีตเคยเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา เป็นเมืองประวัติศาสตร์ที่มีชีวิตและ ยังเป็นเมืองแห่งการสืบสานส่งต่อมรดกทางวัฒนธรรมล้านนา มีหลักฐานและประจักษ์พยานที่แสดงออกถึง อัจฉริยภาพและคุณค่าอันโดดเด่นในด้านวัฒนธรรมในระดับสากล นอกจากนี้ยังมีวิถีวัฒนธรรมล้านนาที่เจริญงอกงามมายาวนานกว่า 725 ปี ตรงกับแนวทางเมืองมรดกโลกขององค์การยูเนสโก
สำหรับขอบเขตพื้นที่มรดกโลกที่จังหวัดเชียงใหม่ได้กำหนดไว้ ประกอบด้วย พื้นที่แหล่งมรดกเชียงใหม่ 18.30 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็น เขตเมืองเก่าเชียงใหม่ 5.13 ตารางกิโลเมตร เขตเวียงสวนดอก 0.32 ตารางกิโลเมตร เขตวัดเจ็ดยอด พระอารามหลวง 0.05 ตารางกิโลเมตร และเขตดอยสุเทพ-เวียงเจ็ดลิน 12.61 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่กันชน ซึ่งเป็นพื้นล้อมรอบ พื้นที่แหล่งมรดกเชียงใหม่ อีก 182.85 ตารางกิโลเมตร รวมทั้งสิ้น 201.15 ตารางกิโลเมตร
พื้นที่แหล่งมรดกเชียงใหม่ (Property) พื้นที่กันชน (Buffer Zone) และแหล่งมรดกสำคัญ ที่แสดงออกถึงคุณค่าอันโดดเด่นเป็นสากล และคุณค่าด้านประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่ (Attributes)’ นำเสนอเป็นส่วนหนึ่งของเอกสารข้อเสนอขึ้นทะเบียนเมืองเชียงใหม่เมืองสู่มรดกโลก (Chiang Mai’s Nomination Dossier) ดังนี้
พื้นที่แหล่งมรดกเชียงใหม่ (Property)
พื้นที่เมืองเชียงใหม่ชั้นใน-ชั้นนอก – เวียงสวนดอก – พื้นที่อุทยานดอยสุเทพ-ปุย – เวียงเจ็ดลิน และถนนสุเทพเชื่อมโยงเวียงสู่ดอยสุเทพ รวมพื้นที่ทั้งหมด 18.03 ตร.กม.พิจารณาและสร้างขอบเขตพื้นที่แหล่งมรดกตามประกาศเขตพื้นที่เมืองเก่า ปี พ.ศ.2553 โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ร่วมกับขอบเขตที่ดินประเภทอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรม ตามผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ ปีพ.ศ. 2556 และเส้นทางเดินขึ้นดอยสุเทพ (เส้นทางจาริกแสวงบุญในอดีต และเส้นทางปัจจุบัน) รวมกับขอบเขตพื้นที่ลุ่มน้ำที่หล่อเลี้ยงเมืองเชียงใหม่ และแนวเขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย
พื้นกันชน (Buffer Zone)
พื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย และพื้นที่รอบเมืองเก่าเชียงใหม่ 183.12 ตร.กม.พิจารณาและสร้างขอบเขตตั้งแต่พื้นที่กันชนตามแนวเขตอุทยานแห่งดอยสุเทพ-ปุย เขตเทศบาลนครเชียงใหม่ และเขตผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ ปีพ.ศ. 2556 (ถนนซุปเปอร์ไฮเวย์-วงแหวนรอบที่ 1)
แหล่งมรดกเมืองเชียงใหม่
1) กลุ่มแหล่งมรดกที่มีความสำคัญในรูปสัณฐานและการวางผังเมืองเดิม
Significant Heritages on Historic Town Morphology and Planning
1. ประตูช้างเผือก = Chang Phueak Gate
2. ประตูท่าแพ = Tha Phae Gate
3. ประตูเชียงใหม่ = Chiang Mai Gate
4. ประตูสวนปรุง = Suan Prung Gate
5. ประตูสวนดอก = Suan Dok Gate
6. แจ่งศรีภูมิ = Sri Phum Bastion
7. แจ่งกะต้ำ = Katam Bastion
8. แจ่งกู่เฮือง = Ku Hueang Bastion
9. แจ่งหัวริน = Hua Rin Bastion
10. เสาอินทขีล ต้นยางและรูปปั้นยักษ์กุมภัณฑ์ = Inthakhin City Pillar, Historic Gum Tree and the Kumphan Guardian spirit Statues
11. กำแพงชั้นในและคูเมือง = Inner old fortification and Moat
12. คุ้มหลวงเวียงแก้ว = Khuang Luang Wiang Kaew
13. กำแพงเมืองชั้นนอก (กำแพงดิน) = Outer wall (Earthen Rampart)
14. ป้อมหายยา = Hai Ya Fortress
15. คลองแม่ข่า = Mae Kha Canal
16. ลำคูไหว = Khu Wai Creek
17. แนวกำแพงดินและคูเวียงสวนดอก = Earthen Rampart and Moat of Wiang Suan Dok
18. แนวกำแพงดินและคูเวียงเจ็ดลิน = Earthen Rampart and Moat of Wiang Chet Lin
2) กลุ่มศาสนสถานและแหล่งโบราณคดีที่สะท้อนอัตลักษณ์ล้านนา
Group of Religious Buildings and Archeological Sites reflecting Lanna Culture and Characteristics
19. วัดสะดือเมือง (เจดีย์) = Wat Sadue Mueang (2 chedi)
20. วัดแสนเมืองมา (วัดหัวข่วง) (วิหาร เจดีย์) = Wat Saen Mueang Ma (Wat Hua Khuang) (wihan chedi)
21. วัดดวงดี (วิหารจตุรมุข วิหาร คู่ อุโบสถ์) = Wat Duang Di (Greek-cross plan wihan, main wihan, ordination hall)
22. วัดพันเตา (วิหาร)= Wat Phan Tao (wihan)
23. วัดเชษฐา (เจดีย์) = Wat Chettha (chedi)
24. วัดช่างแต้ม (วิหาร) = Wat Chang Taem (wihan)
25. วัดพวกหงส์ (วิหาร เจดีย์) = Wat Phuak Hong (wihan and chedi)
26. วัดอุโมงค์มหาเถรจันทร์ (วิหาร เจดีย์) = Wat Umong Maha Therachan (wihan cross vault chedi and chedi)
27. วัดทรายมูลเมือง (กุฏิขนาดใหญ่) = Wat Sai Mun Mueang (monastery)
28. วัดชมพู (ซุ้มประตูโขง เจดีย์) = Wat Chom Phu (chedi)
29. วัดเชตวัน (อุโบสถ เจดีย์) = Wat Chetawan (Ordination hall and chedi)
30. วัดแสนฝาง (วิหารเล็ก วิหารใหญ๋) = Wat Saen Fang (subsidiary wihan and main wihan)
31. วัดบุพพาราม (วิหารเล็ก) = Wat Buppharam (small wihan)
32. วัดช่างฆ้อง (หอไตร) = Wat Chang Khong (Tipitaka library)
33. วัดนันทาราม (วิหาร เจดีย์) = Wat Nantharam (wihan and chedi)
34. วัดผาลาด (เจดีย์ พระพุทธรูปริมผา) = Wat Pha Lat (chedi and Lord Buddha statues at the cliff)
35. วัดอุโมงค์ สวนพุทธธรรม (อุโมงค์เจดีย์) = Wat Umong Suan Phutthatham (chedi with tunnel at the base)
36. วัดป่าแดง (วิหารต่อซุ้มจรนัม เจดีย์) = Wat Pa Daeng (
37. กู่เจ้านายฝ่ายเหนือ = Royal Cemetery of Chiang Mai Rulers
38. แหล่งโบราณคดีดอยสุเทพ = Group of Archeological sites on Doi Suthep Mountain
39. เส้นทางเดินบูชาพระธาตุ = Pilgrimage route to Doi Suthep
3) กลุ่มมรดกที่แสดงถึงคุณค่าอันโดดเด่นทางประวัติศาสตร์ศิลปกรรมสถาปัตยกรรมล้านนา
Heritages of the Outstanding Values on Lanna Historic Arts and Architecture
40. วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร (วิหารลายคำ วิหารหลวง อุโบสถ หอไตร เจดีย์) = Wat Phra Sing Woramahawihan (main wihan, Wihan Lai Kham, ordination hall, Tipitaka library, stupa)
41. วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร (เจดีย์) = Wat Phra That Doi Suthep Ratchaworawihan (Stupa)
42. วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร (วิหารหลวง เจดีย์หลวง) = Wat Chedi Luang Worawihan (Main wihan, chedi)
43. วัดสวนดอก (เจดีย์) = Wat Suan Dok (chedi)
44. วัดปราสาท (วิหารต่อซุ้มจรนัม) = Wat Prasat (wihan with tunnel to chedi)
45. วัดเชียงมั่น (วิหารหลวง อุโบสถ เจดีย์) = Wat Chiang Man (wihan, chedi)
4) กลุ่มองค์ประกอบสำคัญที่เชื่อมต่อ
Associated Historic Elements within the Buffer Zone Area
1. วัดเจ็ดยอด = Wat Chet Yot (chedis, wihan)
2. วัดโลกโมฬี (เจดีย์) = Wat Lok Moli (chedi)
3. วัดเชียงยืน (เจดีย์) = Wat Chiang Yuen (chedi)
4. วัดป่าเป้า (ลวดลายปูนปั้นที่วิหาร กุฏิ) = Wat Pa Pao (stucco work at wihan, Monastery)
5. วัดเกตุการาม (เจดีย์ วิหาร อุโบสถ) = Wat Ketkaram (wihan, ordination Hall, chedi)
6. วัดอุปคุต (เจดีย์) = Wat Uppakhut (stupa, ordination hall)
7. วัดพระธาตุดอยคำ = Wat Phrathat Doi Kham
8. อนุสาวรีย์ข่วงสิงห์ = Khuang Sing monument
9. อนุสาวรีย์ช้างเผือก = Chang Puek (white elephants) Monument
10. หนองบัว = Lake Bua
11. สะพานนวรัฐเก่า = The Old Nawarat Bridge
12. ฝายพญาคำ = Phraya Kham Weir
13. ถนนสายต้นยาง (ถนนสายเชียงใหม่ ลำพูน) = Gum Trees Road (Chiang Mai-Lamphun Road)
หมายเหตุ
สามารถดาวน์โหลดชุดข้อมูลแหล่งที่บรรจุอยู่ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ของศูนย์มรดกโลก
ได้ที่ เว็บไซต์ (https://www.onep.go.th/tentative-list/) หรือ กดที่นี่เพื่อดาวน์โหลดไฟล์ข้อมูล
พิกัดที่ตั้ง (บรรยาย)
หมายเหตุ : ยังไม่มีการกำหนดพิกัดพื้นที่นำเสนอที่แน่ชัด
วันที่ขึ้นทะเบียน
2015 / 2558
คุณค่าความเป็นสากล
1 - เป็นตัวแทนที่แสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ด้านศิลปกรรม หรือตัวแทนของความงดงามและเป็นผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาด
2 - แสดงถึงความสำคัญของการแลกเปลี่ยนคุณค่าของมนุษย์ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือในพื้นที่วัฒนธรรมใดๆ ของโลก ผ่านการพัฒนาด้านสถาปัตยกรรมหรือทางเทคโนโลยี อนุสรณ์ศิลป์ การวางผังเมือง หรือการออกแบบภูมิทัศน์
3 - เป็นเอกลักษณ์ที่หายากยิ่ง หรือเป็นของแท้ดั้งเดิม
6 - มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์หรือบุคคลที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์
ข้อมูลที่อยู่
ดอยสุเทพ สุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200
พื้นที่(ไร่) :
ความสูงจากระดับน้ำทะเล (เมตร) :
แหล่งมรดกที่อยู่ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น ของศูนย์มรดกโลก
วัฒนธรรม
การสำรวจพื้นที่แหล่งมรดกทางวัฒนธรรม อนุสรณ์สถาน แหล่งต่าง ๆ และภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเชียงใหม่ นครหลวงของล้านนา
23/08/2020 - 24/08/2020
กธศ. โดยกลุ่มงานประสานการบริหารจัดการมรดกโลก ได้สำรวจพื้นที่แหล่งมรดกทางวัฒนธรรม อนุสรณ์สถาน แหล่งต่าง ๆ และภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเชียงใหม่ นครหลวงของล้านนา ระหว่างวันที่ 23 - 24 สิงหาคม 2563 เพื่อสำรวจและศึกษาสภาพพื้นที่เตรียมการนำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม อนุสรณ์สถาน แหล่งต่าง ๆ และภูมิทัศน์วัฒนธรรมของเชียงใหม่ นครหลวงของล้านนา เป็นมรดกโลก ตามขอบเขตพื้นที่ที่ได้รับการกำหนดใหม่ จากสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่